
โครงการ “การพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมและคัดกรองสื่อปลอดภัย สร้างสรรค์ โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์”

ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2564 ทำหน้าที่ พัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์โดยใช้เทคนิคการประมวลผลภาษาธรรมชาติ Natural Language Processing เพื่อการประมวลผลภาษาไทยสำหรับคัดกรองข้อมูลการพัฒนาระบบการประเมินข่าวสารในออนไลน์ สนับสนุนโดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
FAQs
1. ระบบ Social Media Analytics คืออะไร ? Ans : เป็นระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้โครงการ การพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมและคัดกรองสื่อปลอดภัย สร้างสรรค์ โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ได้รับทุนสนับสนุนจาก กองุทนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดกลไกและกระบวนการเฝ้าระวังและรู้เท่าทันสื่อ โดยการนำระบบปัญญาประดิษฐ์ การจัดทำ Natural Language Processing (NLP) มาใช้ในการเลือกเนื้อหาสาระ ข้อความ เนื้อหาปลอม คำที่สร้างความเกลียดชัง สร้างสรรค์ รวมถึงการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อใสถานการณ์โลกยุคปัจจุบัน เพื่อให้เกิดการรู้เท่าทันสื่อและการเฝ้าระวังสื่อต่อไป 2. ระบบ Social Media Analytics ทำหน้าที่อะไร ? Ans : ระบบ Social Media Analytics คือ การผนวกรวมกันระหว่าง Social Listening Tools และSocial Monitoring ที่มีเครื่องมือที่คอยทำหน้าที่ฟังเสียงบนโลกออนไลน์ มีกระบวนการในการทำงาน โดยหลักการทำงานจะเน้นไปที่การ ตั้งค่า Keyword เพื่อมองหาเสียงบนโลกออนไลน์ทันทีที่มีการพูดถึง Keyword ที่เรา ตั้งค่าไว้ ระบบจะทำการกวาดข้อมูล schedule ทุก3 ชม. จาก 3 platform ประกอบด้วย YouTube Twitter และ Facebook Page เพื่อแสดงผล 3. อยากทดลองใช้งาน Social Media Analytics สามารถติดต่อที่ไหน ? Ans : สามารถติดต่อได้ที่ minerva.consult.services@gmail.com หรือทาง Line Official ที่ https://lin.ee/dF8jT93 ทีมงาน Customer Service จะรีบติดต่อไปทันที 4. ระบบ Social Media Analytics แตกต่างจากคู่แข่งอื่นอย่างไร ? Ans : ระบบ Social Media Analytics จะเน้นไปที่การวิเคราะห์เสียงบนโลกออนไลน์ ที่ผู้ใช้ให้ระบบค้นหาด้วย Keyword ระบบจะทำการกวาดข้อมูลที่เกิดขึ้นใน Social Media โดยระบบใช้ AI สร้างโมเดลการวิเคราะห์ ที่เน้นในเรื่องการคุกคามบนโลกออนไลน์ (Cyberbullying) ทำให้การแสดงผลรายงานสามารถระบุ ระดับของความรุนแรง (Bully Level) และประเภทของการคุกคาม (Bully Type) ได้ เพิ่มเติมจากการวิเคราะห์ทางอารมณ์ รวมถึงการทำ Popular word ที่เกิดขึ้นใน Keyword ที่สืบค้น 5. เบราว์เซอร์ที่ใช้งาน สามารถใช้อะไรได้บ้าง ? Ans : ระบบ Social Media Analytics สารมารถเข้าใช้งานผ่าน ได้ทุกประเภท เช่น Google Chrome, Safari, Internet Explorer, Firefox และ Microsoft Edge อีกทั้งยังสามารถเข้าใช้งานได้ทั้งผ่านคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือที่เป็น Smart Phone และ Tablet 6. หากลืมรหัสเข้าใช้งานต้องทำอย่างไร ? Ans : สามารถติดต่อได้ที่ minerva.consult.services@gmail.com หรือทาง Line Official ที่ https://lin.ee/dF8jT93 ทีมงาน Customer Service จะรีบติดต่อไปทันที 7. หากต้องการเปลี่ยนภาษา ต้องทำอย่างไร ? Ans : ระบบรองรับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผู้ใช้งานสามารถเลือกภาษาที่ต้องการได้ โดยเข้าไปที่เมนู “บัญชี” ด้านมุมขวาบน แล้วเลือกกดเลือกภาษาที่ต้องการ 8. หากต้องการเปลี่ยนบทบาทการใช้งาน ต้องทำอย่างไร ? Ans : ผู้ใช้งานสามารถติดต่อได้ที่ minerva.consult.services@gmail.com หรือทาง Line Official ที่ https://lin.ee/dF8jT93 ทีมงาน Customer Service จะรีบติดต่อไปทันที 9. หากต้องการเปลี่ยนแปลงคีย์เวิร์ดในเคมแปญ จะมีวิธีการอย่างไร ? Ans : ผู้ให้บริการแนะนำให้สร้างแคมเปญขึ้นมาใหม่ เนื่องจากแคมเปญเดิม ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่สร้างไปแล้วได้ ซึ่งข้อมูลในแคมเปญเก่า ทางผู้ให้บริการยังคงเก็บไว้อยู่ 10. ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงการตั้งค่าอื่น ๆ ในระบบได้หรือไม่ ? Ans : ผู้ให้บริการกำหนดบทบาทการใช้งานในระบบ ซึ่งในแต่ละบทบาท มีสิทธิเข้าถึงการตั้งค่าและการใช้งานที่แตกต่างกันไป เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลง แก้ไข โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตจากผู้สร้างแคมเปญ โดยกำหนดบาทบาทไว้ 3 บทบาท ดังนี้ User Admin: สามารถเข้าถึงการตั้งค่าได้ เช่น สร้างผู้ใช้งาน เพิ่มคีย์เวิร์ด เพิ่มแคมเปญ เป็นต้น User Operation : สามารถใช้งานระบบได้อย่างเดียว ไม่สามารถเข้าถึงการตั้งค่าใด ๆ ได้ Guest : ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ สามารถดูได้อย่างเดียว 11. หากต้องการดูรายละเอียดของการวิเคราะห์ในแต่ละกราฟ ต้องทำอย่างไร ? Ans : ผู้ใช้งานสามารถดูรายละเอียดของแต่ละกราฟได้ โดยกดที่ข้อมูลที่ต้องการ ระบบจะนำไปหน้าแสดงรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าว โดยผู้ใช้งานสามารถ Export รายละเอียดได้ โดยส่งออกเป็นไฟล์ csv. 12. มีวิธีการในการจำแนกระดับของความรุนแรงของการคุกคามไว้อย่างไรบ้าง ? Ans : ระบบมีการจำแนกระดับของการคุกคาม แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ Level 0 : ข้อความที่ไม่มีการ Bully Level 1 : ระบุตัวผู้ถูกกล่าวถึงไม่ได้ ไม่มีเจตนา ไม่ตั้งใจกระทำ การวิจารณ์รสนิยมทางเพศ เชื้อชาติ รูปร่าง Level 2 : ระบุตัวผู้ถูกกล่าวถึงได้ ก่อความรำคาญ การหมิ่นประมาท กีดกันการเข้ากลุ่มใช้ถ้อยคำหยาบคาย Level 3 : ระบุตัวผู้ถูกกล่าวถึงได้ สร้างความเกลียดชังในสังคม เกิดผลกระทบทางจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ยั่วยุปลุกปลั่นให้เกิดการทำร้าย 13. มีวิธีการในการจำแนกประเภทของการคุกคามไว้อย่างไรบ้าง ? Ans : ระบบมีการจำแนกรูปแบบของการคุกคาม แบ่งออกเป็น 5 รูปแบบ ได้แก่ No Bully : ข้อความที่ไม่มีการ Bully Gossip : แสดงความคิดเห็น ในลักษณะที่ส่งผลเสียต่อความรู้สึกผู้อื่น การนินทา การแซว ทำให้กลายเป็นเรื่องตลก ขบขัน Harassment : การเยาะเย้ย สมน้ำหน้า ดูถูก มีคำหยาบคายที่ไม่รุนแรง อยู่ในประโยคหรือคำพูด Exclusion : การตั้งใจแบ่งแยกแบ่งฝ่าย หรือกีดกัน และชักชวนให้เกิดการกีดกันทางสังคม ทำให้ผู้อื่นถูกลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ Hate Speech : การปลุกปั่น ยั่วยุ ให้เกิดความเกลียดชัง ต่อกลุ่มเป้าหมาย การกล่าวโทษที่รุนแรง การพูดจาดูหมิ่น ดูถูก เหยียดหยามหรือสบประมาท 14. หากต้องการขยายรูปภาพของกราฟ ต้องทำอย่างไร ? Ans : ผู้ใช้งานสามารถขยายรูปภาพเพื่อแสดงผลให้ใหญ่ขึ้นได้ ที่เครื่องหมาย “แว่นขยาย” ที่อยู่ด้านมุมขวาของแต่ละกราฟได้ 15. ระบบสามารถใส่คีย์เวิร์ดได้กี่ภาษา Ans : ระบบจะรองรับการใส่คีย์เวิร์ดในเฉพาะภาษาไทยเท่านั้น 16. เมื่อใส่คีย์เวิร์ดแล้ว ใช้เวลาเท่าไหร่ ข้อมูลถึงจะแสดงผล Ans : ระบบมีรอบในการกวาดข้อมูลทุก ๆ 3 ชั่วโมง ได้แก่เวลา 3.00 น. 6.00 น. 9.00 น. 12.00 น. 15.00 น. 18.00 น. และ 21.00 น. ตัวอย่าง เช่น ถ้าหากผู้ใช้งานใส่คีย์เวิร์ดในเวลา 10.30 น. ระบบจะทำการกวาดข้อมูลจากออนไลน์ในเวลา 12.00 น. แล้วจึงแสดงผลในหน้าแดชบอร์ดและรายงาน
Working Team
ดร.ปิยะนุช ธูปถมพงศ์
รศ.ดร.รัฐสิทธิ์ สุขะหุต
ดร.น้ำทิพย์ ทาตะนาม
ดร.สุพัฒนวรี ทิพย์เจริญ
นายกัสสปะ ศักดิ์ศรี
นายธีรวิชญ์ วงษา
นายมณฑล เวียงเกตุ
น.ส.น้องนุช เสรีวงศ์
น.ส.ชลชนิศร์ กาญจนาสน์
นายวรพงศ์ บำรุงศรี
นายกษิดิศ ไตรรัตนอุปถัมภ์
หัวหน้าโครงการ
ที่ปรึกษาโครงการ
นักวิจัย
นักวิจัย
นักวิจัย
นักวิจัย
นักวิจัย
นักวิจัย
นักวิจัย
นักวิจัย
นักวิจัย