top of page
หน้าจอ.gif

โครงการ “การวิเคราะห์ความสัมพันธ์การเกิดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนสื่อสังคมออนไลน์

เพื่อการเฝ้าระวังการระรานบนโลกออนไลน์ ระยะที่ 2”

SL2_Logo.png
รางวัล NIA.png

          ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 31 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ทำหน้าที่ พัฒนาระบบการประเมินข่าวสารออนไลน์ (Social Media Analytics) ในรูปแบบ Web Application

          ด้วยการพัฒนาระบบการกวาดและเก็บข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ สร้างโมเดลการประมวลผลทางภาษา ที่สามารถจำแนกประเภทและระดับความรุนแรงการระรานในโลกออนไลน์ (Cyberbullying Analysis) สร้างพจนานุกรมข้อมูล (Data Corpus) สำหรับใช้ในการเรียนรู้และทำนายผลของ AI เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการทำนายให้มีความแม่นย่ำสำหรับข้อมูลที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และนอกจากนี้ยังสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีการวิเคราะห์เชิงลึกที่สามารถค้นหาผู้ที่เกี่ยวข้องในสายเครือข่ายความสัมพันธ์การระรานในโลกออนไลน์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบหน้า Dashboard ที่เข้าใจง่าย สะดวกต่อการใช้ง่าย

          ทุนการวิจัยและพัฒนาสนับสนุนโดย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และการีนตีความสำเร็จด้วยรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ รองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทผลงานนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

FAQs

1. ระบบ Social Media Analytics คืออะไร ? Ans : เป็นระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้โครงการ “การพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมและคัดกรองสื่อปลอดภัย สร้างสรรค์ โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์” ได้รับทุนสนับสนุนจาก กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดกลไกและกระบวนการเฝ้าระวังและรู้เท่าทันสื่อ ด้วยการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ใช้ในการคำนวณเลือกเนื้อหาสาระ ข้อความ เนื้อหาปลอม คำที่สร้างความเกลียดชัง สร้างสรรค์ รวมถึงการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อในสถานการณ์โลกยุคปัจจุบัน เพื่อให้เกิดการรู้เท่าทันสื่อและการเฝ้าระวังสื่อต่อไป 2. ระบบ Social Media Analytics ทำหน้าที่อะไร ? Ans : ระบบ Social Media Analytics คือ การผนวกรวมกันระหว่าง Social Listening Tools และ Social Monitoring ในการเป็นเครื่องมือที่คอยทำหน้าที่ฟังเสียงบนโลกออนไลน์ โดยมีหลักการทำงานเน้นไปที่การตั้งค่า Keyword เพื่อมองหาเสียงบนโลกออนไลน์ทันทีที่มีการพูดถึง Keyword ที่ตั้งค่าไว้ ทั้งนี้ระบบการกวาดข้อมูลผ่าน Social Media เช่น Facebook, Twitter, YouTube, Instagram และ Pantip และนำข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลโดย AI มารายงานบนหน้า Dashboard ต่างๆ 3. ระบบ Social Media Analytics แตกต่างจากคู่แข่งอื่นอย่างไร ? Ans : ระบบ Social Media Analytics จะเน้นไปที่การวิเคราะห์เสียงบนโลกออนไลน์ ที่ผู้ใช้ให้ระบบค้นหาด้วย Keyword ระบบจะทำการกวาดข้อมูลที่เกิดขึ้นบน Social Media โดยใช้ระบบ AI สร้างโมเดลการวิเคราะห์ที่เน้นในเรื่องการคุกคามบนโลกออนไลน์ (Cyberbullying) ทำให้การแสดงผลรายงานสามารถระบุระดับของความรุนแรง (Bully Level) และประเภทของการคุกคาม (Bully Type) ได้ เพิ่มเติมจากการวิเคราะห์ทางอารมณ์ (Sentiment) รวมถึงมีการประมวลผลรวบรวมคำ Popular word ที่เกิดขึ้นใน Keyword ที่สืบค้น 4. มีวิธีการในการจำแนกระดับของความรุนแรงของการคุกคามไว้อย่างไรบ้าง ? Ans : ระบบมีการจำแนกระดับการคุกคาม แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ Level 0 : ข้อความที่ไม่มีการ Bully Level 1 : ระบุตัวผู้ถูกกล่าวถึงไม่ได้ ไม่มีเจตนา ไม่ตั้งใจกระทำ การวิจารณ์รสนิยมทางเพศ เชื้อชาติ รูปร่าง Level 2 : ระบุตัวผู้ถูกกล่าวถึงได้ ก่อความรำคาญ การหมิ่นประมาท กีดกันการเข้ากลุ่ม มีการใช้ถ้อยคำหยาบคาย Level 3 : ระบุตัวผู้ถูกกล่าวถึงได้ สร้างความเกลียดชังในสังคม เกิดผลกระทบทางจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ยั่วยุปลุกปลั่นให้เกิดการทำร้าย 5. มีวิธีการในการจำแนกประเภทของการคุกคามไว้อย่างไรบ้าง ? Ans : ระบบมีการจำแนกรูปแบบการคุกคาม แบ่งออกเป็น 5 รูปแบบ ได้แก่ No Bully : ข้อความที่ไม่มีการ Bully Gossip : แสดงความคิดเห็น ในลักษณะที่ส่งผลเสียต่อความรู้สึกผู้อื่น การนินทา การแซว ทำให้กลายเป็นเรื่องตลก ขบขัน Harassment : การเยาะเย้ย สมน้ำหน้า ดูถูก มีคำหยาบคายที่ไม่รุนแรง อยู่ในประโยคหรือคำพูด Exclusion : การตั้งใจแบ่งแยกแบ่งฝ่าย หรือกีดกัน และชักชวนให้เกิดการกีดกันทางสังคม ทำให้ผู้อื่นถูกลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ Hate Speech : การปลุกปั่น ยั่วยุ ให้เกิดความเกลียดชัง ต่อกลุ่มเป้าหมาย การกล่าวโทษที่รุนแรง การพูดจาดูหมิ่น ดูถูก เหยียดหยามหรือสบประมาท 6. ระบบสามารถใส่คีย์เวิร์ดได้กี่ภาษา Ans : ระบบจะรองรับการใส่คีย์เวิร์ดได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7. อยากทดลองใช้งาน Social Media Analytics สามารถติดต่อที่ไหน ? Ans : สามารถติดต่อได้ที่ minerva.consult.services@gmail.com หรือทาง Line Official ที่ https://lin.ee/dF8jT93 โดยจะมีทีมงานสนับสนุนการบริการ (Customer Service) คอยติดต่อกลับ 8. เบราว์เซอร์ที่ใช้งาน สามารถใช้อะไรได้บ้าง ? Ans : ระบบ Social Media Analytics สามารถใช้งานได้ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ได้ทุกประเภท Google Chrome, Safari, Internet Explorer, Firefox และ Microsoft Edge บนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ Smart Phone และ Tablet 9. หากลืมรหัสเข้าใช้งานต้องทำอย่างไร ? Ans : สามารถกด Forgot my password ที่ด้านขวาล่างของช่องลงชื่อเข้าใช้งาน >> กรอก E-mail บัญชีผู้ใช้งาน >> กด SEND RESET LINK >> ระบบส่งลิ้งค์รีเซตรหัสผ่านใหม่ให้ทาง E-mail >> เข้าไปที่ E-mail >> คลิกจดหมาย >> กดที่ลิ้งรีเซตขอรหัสผ่านใหม่ เพื่อทำการตั้งรหัสผ่านใหม่อีกครั้ง 10. หากต้องการเปลี่ยนรหัสผ่านต้องทำอย่างไร Ans : ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนรหัสผ่านได้ด้วยตัวเอง โดยกดไอคอนรูปคนด้านมุมขวาบน แล้วเลือก Change Password 11. หากต้องการเปลี่ยนภาษา ต้องทำอย่างไร ? Ans : ระบบรองรับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผู้ใช้งานสามารถเลือกภาษาที่ต้องการได้ โดยกดไอคอนเปลี่ยนภาษาที่ด้านขวาบน แล้วกดเลือกภาษาที่ต้องการ 12. หากต้องการเปิดใช้งานโหมดมืด ต้องทำอย่างไร Ans : ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนเป็นโหมดมืดได้ โดยกดไอคอนรูปพระจันทร์เสี้ยวที่ด้านขวาบน 13. หากต้องการยอดคงเหลือของการดึงข้อมูล (Transection) ต้องการทำอย่างไร Ans : ผู้ใช้งานสามารถดูยอดคงเหลือของการดึงข้อมูล (Transaction) ได้ โดยกดไอคอนรูปคนรูปด้านขวาบน และดูตรงหัวข้อ Transaction per month start 14. หากต้องการดูรายละเอียดของการวิเคราะห์ในแต่ละกราฟ ต้องทำอย่างไร ? Ans : ผู้ใช้งานสามารถดูรายละเอียดของแต่ละกราฟได้ โดยกดที่ข้อมูลที่ต้องการ ระบบจะนำไปสู่หน้าแสดงรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้ใช้งานสามารถส่งออกรายละเอียดเป็นไฟล์ csv. และ PNG. ได้ โดยกดไอคอนดาวโหลดที่ด้านบนขวาของแต่ละกราฟ 15. หากต้องการเปลี่ยนรูปแบบกราฟ ต้องทำอย่างไร ? Ans : ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนรูปแบบการแสดงผลของกราฟได้ โดยเลือกกดไอคอนกราฟแท่งหรือกราฟเส้นที่ด้านบนขวาของแต่ละกราฟ และสามารถเลือกปิดการแสดงข้อมูลได้ด้วยการคลิกข้อมูลที่ต้องการปิดการแสดงผล 16. หากต้องการเปลี่ยนแปลงคีย์เวิร์ดในเคมแปญ จะมีวิธีการอย่างไร ? Ans : ผู้ให้บริการแนะนำให้สร้างแคมเปญขึ้นมาใหม่ เนื่องจากแคมเปญเดิม ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่สร้างไปแล้วได้ ซึ่งข้อมูลในแคมเปญเดิม ทางผู้ให้บริการยังคงเก็บไว้อยู่ และเพื่อเป็นการยุติการดึงข้อมูลที่ซับซ้อนกัน ผู้ให้บริการแนะนำให้กดปิดสวิตส์แคมเปญเดิมที่หัวข้อ STATUS 17. ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงการตั้งค่าอื่น ๆ ในระบบได้หรือไม่ ? Ans : ผู้ให้บริการกำหนดบทบาทการใช้งานในระบบ ซึ่งในแต่ละบทบาท มีสิทธิเข้าถึงการตั้งค่าและการใช้งานที่แตกต่างกันไป เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลง แก้ไข โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตจากผู้สร้างแคมเปญ โดยกำหนดบาทบาทไว้ 3 บทบาท ดังนี้ User Admin: สามารถเข้าถึงการตั้งค่าได้ เช่น สร้างผู้ใช้งาน เพิ่มคีย์เวิร์ด เพิ่มแคมเปญ เป็นต้น User Operation : สามารถใช้งานระบบได้อย่างเดียว เพิ่มคีย์เวิร์ด เพิ่มแคมเปญ ไม่สามารถเข้าถึงการตั้งค่าใด ๆ ได้ Guest : ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ สามารถดูได้อย่างเดียว 18. หากต้องการเปลี่ยนบทบาทการใช้งาน ต้องทำอย่างไร ? Ans : User Admin ขององค์กร เปลี่ยนบทบาทการใช้งานได้ โดยเข้าไปที่เมนู User Permission >> User MGT >> กดเลือกบัญชีผู้ใช้งานที่ต้องการเปลี่ยนบทบาท >> กดปุ่ม 3 จุดตรงหัวข้อ Action >> เลือก Edit >> และเลือกบทบาทที่ต้องการเปลี่ยนตรงหัวข้อ Role เพื่อทำการเปลี่ยนบทบาทการใช้งาน 19. หากต้องการประกาศข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานภายในองค์กร ต้องทำอย่างไร Ans : User Admin สามารถโพสต์ประกาศข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานภายในองค์กรได้ โดยเข้าไปที่เมนู Content ด้านบนซ้าย และคลิก Content-MGT จากนั้นกด Add เพิ่ม โดยรูปแบบเนื้อหา แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ News, Announcement และ Content

ติดต่อเรา

บริษัท มิเนอร์วา คอนซัลแตนท์ จำกัด

ห้องเลขที่ 1004-1005 ชั้น 10 อาคารพร้อมพันธุ์ 3 ลาดพร้าวซอย 3 แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

email : contact@minerva-th.com

Phone : 083-0088998

​​Copyright © 2025 by MINERVA CONSULTANT CO.,LTD. All right reserved

|

bottom of page